แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน

แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน
หนังสือ "แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้านแบบ Buffet" โดย ภาววิทย์

หนังสือที่ได้รับความนิยมใน Blog นี้

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หนังสือ Bakery & I --("สุกี้"กับ Bakery ที่กินไม่ได้ !!)


ผมได้อ่าน "Bakery & I" หนังสือของคุณ สุกี้ (หนึ่งในสามอรหันต์แห่งค่าย Bakery Music ผู้ปฏิวัติวงการเพลงไทยตลอดกาล) ..รู้สึกว่า "ได้อะไรเยอะมาก!!" แต่อย่างแรก ขอบคุณทั้งสามคนนี้จริงๆ ที่ทำให้ RS กับ Grammy สร้างนักร้องและเพลงที่มีคุณภาพมากขึ้น "ขอบ่นก่อนนะว่า ย้อนไปไม่ถึง 10 ปี ผมทนนักร้องของค่าย RS ไม่ได้จริงๆ.."คิดแล้ว ปี๊ด!!" (แต่เดี๋ยวนี้เขาดีแล้ว แถมเอาบอลโลกมาให้เราดูอีก ..ยังไงต้องยกเครดิตให้ "คุณสุกี้" อยู่ดี เพราะของจะดีมันต้องมีการแข่งขัน

เรื่องราวการเดินทางของ Bakery มันได้ย้อนมาสร้างความมั่นใจใน การแบ่งประเภทกิจการที่ผมเคยแบ่งไว้ 3 ประเภท (Me too/ Value Added / Innovation)..จุดนี้ลองมาดูซิครับว่า Bakery Music ที่สร้างตัวเองอย่างแตกต่าง ทั้งแนวเพลง ปกเทป คุณภาพเพลง ตัวศิลปินที่มีความเจ๋งในตัว การโปรโมทที่ใช้การแสดงสด + Word of Mouth(เป็นหลักในการขับเคลื่อน)

--ที่ว่ามาทั้งหมดเพื่อจะชี้ว่า Bakery Music แท้จริงแล้ว ไม่ใช่ Innovation นะแต่เป็นแค่เพียง Value Added --แต่ค่ายที่เป็น Innovation น่ะคือ Grammy เพราะ (เต๋อ)กับ(อากู๋) นี่แกสร้าง Grammy มาตั้งแต่ยังไม่มีอุตสาหกรรมเพลงในประเทศไทยเสียด้วยซ้ำ เริ่มจาก คุณเต๋อ แกนั่งเกากีตาห์อยู่หลังห้องโรงเรียนเซนต์คาเบรียล (แกเป็นรุ่นพี่ผม "ภูมิใจจริงๆ")..จากเด็กหลังห้องก็กลายเป็นตำนาน ผู้ก่อตั้ง Grammy มันจึงเป็น Innovation ที่ไม่ธรรมดา (แม้ในบางยุค เพลงจะ "ห่วย"บ้างเล็กน้อย แต่แล้วก็สามารถผ่านมรสุมมาได้)

กลับมาที่ Bakery ก็นับว่า เป็นการรวมตัวของคนหนุ่มไฟแรงสร้างกิจการด้วยความเชื่อมั่น และได้ผ่านวิกฤตถึงสองครั้ง ก่อนที่ทั้งสามคน จะปิดตำนาน ลาออกจาก กิจการที่ตัวเองก่อตั้งในที่สุด(เหมือน Steve Jobs อ่ะ..หุ หุ) --ความสำเร็จใน Bakery ในอดีต ผมมองว่าเป็นการทำในสิ่งที่ตัวเองรัก และมันเป็นสิ่งที่เป็นช่องว่างของตลาด (ซึ่งถ้ามองให้ดีแล้ว การผลิตเพลงที่ไม่ใช่กระแสในตลาด มันเสี่ยงต่อการเจ๊งอย่างมากทีเดียว)

จุดที่น่าสนใจคือ การเข้ามาร่วมทุนของ BMG ที่ดึง Bakery ออกจากวิกฤตที่ถึงขั้นเกือบล้มละลายถึงสองครั้ง โดยครั้งแรกร้อยล้าน และครั้งที่สองอีกสี่สิบล้าน ..สิ่งที่น่าคิดคือ "ฝรั่งมันเอาเงินมาลงทุนทำไม!!" เพราะการเข้ามาในครั้งแรก เป็นการเติมน้ำเลี้ยงให้กับกิจการที่ขยายเกินตัว ให้ขยายเกินตัวเพิ่มเข้าไปอีก!!

เงินร้อยล้าน ที่เข้ามาร่วมลงทุนโดย BMG ทำให้ Bakery ขยายไลน์ออกสู่ นิตยสาร KATCH ค่าย Dojo รวมถึงทีวีอีกด้วย ซึ่งท้ายสุดกลับกลายเป็นปัญหากลับมาสู่การก่อ วิกฤตในครั้งที่สอง!! ..ซึ่งครั้งนี้ทาง BMG ตัดสินใจให้ทุนเพิ่ม แต่ส่งคนเข้ามาช่วยแก้ปัญหา --จุดนี้สร้างรอยร้าวอย่างมาก เพราะมีการปิดตัวทั้งหนังสือและทีวี รวมทั้ง Lay off พนักงานจำนวนมาก

ถ้าให้มองเป็น Shotๆ จะเห็นได้ว่า BMG เสี่ยงในเงินก้อนแรก คล้ายๆกับที่ Venture Capital ในอเมริกาใช้ คือ การปล่อยแล้วดูว่า กิจการใดที่ขยายแล้วสามารถอยู่ได้บ้าง ..ซึ่งนับเป็นมุมมองที่ฉลาด เพราะการได้ "กลุ่มนักธุรกิจดนตรีที่สุดโต่งอย่าง Bakery" เข้าทำการทดลองเปิด ธุรกิจในสายใหม่ๆ ก็ทำให้ฝรั่งได้เรียนทางอ้อมไปในตัว ด้วยเงินที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับดอลล่าห์ จึงไม่แปลกที่ฝรั่งสามารถโยนเงินก้อนแรกมาถามทาง จากนั้นก็ค่อย "ตัดเก็บปิด" ในเงินอัดฉีดก้อนที่สอง

แต่สิ่งที่พลาด!! ผมมองว่า (เกมนี้มันไม่จบ Loop) เพราะ Sony เข้ามาซื้อ BMG ไปเสียก่อน ..มิเช่นนั้น ผมว่า Bakery มีโอกาสกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง เพราะธุรกิจที่โตได้มันต้องมี (คน + เงิน) --จากวิกฤตทั้งสองทำให้ Bakery มีทั้งสองอย่าง แต่ที่สุด ก็พลาดที่จัวหวะและโอกาสนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การศึกษาประวัติของ Bakery มันเป็นอะไรที่สนุก และสะท้อน ภาพบางอย่าง ที่กำลังจะเข้ามาเปลี่ยนชีวิตทุกๆคน "นั้นคือบริบทการแข่งขันของธุรกิจจะเปลี่ยนไป" จากเดิม Bakery แข่งกับ RS และ Grammy แต่ท้ายสุดคนที่ Bakery แพ้กลับเป็น "ผู้บริโภค" ที่เปลี่ยนพฤติกรรม โดยไม่มีใครซื้อ CD ฟังอีกต่อไป ฟังแต่ MP3 แทน--(จุดนี้ถ้ามองให้ดีมันน่ากลัว!!) เพราะถ้าคุณมองให้ดีๆ "ผู้บริโภคในอนาคต มีพฤติกรรมที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง ทั้งลักษณะการบริโภค การกินอยู่ การทำงาน รวมทั้งในเรื่องของเวลา" --แน่นอน!! สิ่งเหล่านี้ ก็จะกลับมาเปรเปลี่ยนเป็น แนวโน้มการใช้จ่ายที่เปลี่ยนไป ดังนั้น ถ้าบริษัทใดไม่เข้าใจ ผมว่า"ตายลูกเดียว"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น